กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ H&M อยู่ในสปอตไลต์ตลอดเวลา
คือ การทำ Brand Collaboration กับดีไซเนอร์ชื่อดังและซูเปอร์สตาร์
(จะเรียกว่า Designer&Celebrity Collaboration ก็ได้)
มาตั้งแต่ปี 2547 และใช้กลยุทธ์นี้อย่างต่อเนื่องมา 10 กว่าครั้งแล้ว
ที่ผ่านมาร่วมมือกับ Stella McCarthey, Viktor&Rolf, Madonna,Roberto Cavalli,
Comme des Garcons, Matthew Williamson, Jimmy Choo,
Sonia Rykiel, Lavin,Versace ,Marni
นอกจากนี้ยังมีนักเตะซูเปอร์สตาร์อย่าง Devid Becham ที่ร่วมออกไลน์ชุดชั้นในชาย
ในวันเปิดตัวคอลเลกชั่นพิเศษแบบนี้ สามารถดึงดูดทั้งแฟนของ H&M
และแบรนด์ที่มาช่วยเสริมบารมีให้มาต่อคิว
เข้าแถวยาวเฟื้อยหน้าร้านทุกครั้งไป
(ใครๆ ก็อยากจะใส่เสื้อผ้าของดีไซเนอร์ดัง ในราคาที่ถูกกว่าหลายสิบเท่า)
แน่นอนว่านอกจากจะเรียกเสียงฮือฮาได้จากผู้บริโภคแล้ว
ยังช่วยเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทได้อีกด้วย
เพราะผลงานร่วมมือกันแบบแน่นแฟ้นนี้มีราคาสูงกว่าคอลเลกชั่นปกติ
Communication of H&M
-TVC
-Print Ads
สื่อออนไลน์
เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัด H&M จึงเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มที่ ระดมทั้ง Facebook, Twitter, Google+ และ Youtube รวมถึงโซเชี่ยลมีเดียยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Youku และ Sina Weibo ด้วย โซเชี่ยลมีเดียทำให้เรารู้ว่าแม้ในหลายประเทศจะไม่มีช็อป H&M แต่ก็เป็นที่รู้จักและต่างเรียกร้องให้แบรนด์นี้ไปเปิดในประเทศของตัวเอง ปัจจุบันเฉพาะ Facebook มีแฟน 9 ล้านคน และมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 40,000-60,000 คนต่อสัปดาห์
-Ambient
CSR H&M
H&M นั้นก็นับว่าเป็นองค์กรที่มี CSR (Corporate Social Responsibility) หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ยกตัวอย่างในปี 2004 H&M ได้ร่วมมือกับโครงการ Unicef เพื่อช่วยแรงงานเด็กในประเทศอุซเบกิสถาน เสริมสร้างและพัฒนาความเข้าใจต่อทัศนคติที่มีแต่สิทธิและเสรีภาพของเด็ก โดย H&M ได้บริจาคเงินเพื่อโครงการนี้ไปมากกว่า 150,000 USD
ปัจจุบันด้านซีเอสอาร์มีกองทุนมูลค่า 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนโครงการช่วยเหลือเด็กในรูปแบบต่างๆ ของยูนิเซฟ ขณะที่เดียวกันยังตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 ผ้าฝ้ายที่ใช้เป็นวัตถุดิบทั้งหมดจะต้องมาจากแหล่งเพาะปลูกที่ยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น