AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 10 ประเทศหลัก
จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “One Vision, One Identity, One Community”
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
1.ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า เคลื่อนย้ายเสรี
2.คาดว่า การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 – 20% ต่อปี
3.เปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
4.สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
5.เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียน อื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และลดต้นทุนการผลิต
6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ผลการศึกษา แสดงว่า AEC จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 69 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
แนวทางที่ประเทศ ไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ พร้อมในการแข่งขัน โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว ได้แก่
1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550)
2. มาตรการป้องกันผลกระทบ ก่อน หน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตาม คำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2550) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
การส่งออกและนำเข้าของประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกสูงมากคิดเป็น 80% ของ GDP (รายได้ประชาชาติ) เพราะว่าประเทศไทยของเรามีจุดเด่นในด้านฝีมือแรงงาน และโครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดี ทำให้ช่วงหลายสิบปีมานี้ต่างชาติมักใช้ประเทศไทยของเราเป็นฐานการส่งออกและกระจายสินค้าภายในภูมิภาคเป็นอย่างมาก ประกอบกับความได้เปรียบเพื่อนบ้านในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เราอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของอาเซียนยิ่งทำให้ประเทศไทยได้รับความนิยมใช้เป็น ศูนย์การในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าของนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก แม้ในปัจจุบันค่าแรงของเราจะสูงขึ้นมาก แต่ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ จึงทำให้ประเทศไทยของเรายังได้เปรียบหลายๆ ประเทศอยู่มาก
1.เครื่องคอมพิวเตอร์
2.อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์
3.อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า
4.ยางพารา
5.เม็ดพลาสติก
6.อัญมณีและเครื่องประดับ
7.น้ำมันสำเร็จรูป
8.เหล็ก
9.เหล็กกล้า
10.ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
11.ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์
12.ข้าว
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ
1.น้ำมันดิบ
2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
3.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์
4.สินแร่โลหะอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น