ประเทศไทย
หรือ
ราชอาณาจักรไทย
ธงชาติไทย
ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และ น้ำเงิน
ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน
ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ
แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า
ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ
ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และ พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
เพลงประจำชาติ เพลงชาติไทย
ประเทศขึ้นชื่อเรื่องเป็นสยามเมืองยิ้ม THAILAND LAND OF SMILE
นอกจากนี้ไทยยังขึ้นชื่อเรื่องการไหว้อีกด้วย
ภาษา
ภาษาที่ใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ภาษาไทยเป็นภาษาทางการ
นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นของแต่ละภาคที่ใช้สำเนียงต่างกันไป
![]() |
พยัญชนะไทย |
ศาสนา
ศาสนาพุทธ ถือเป็น ศาสนาประจำชาติ
เนื่องจากมีประชากรในประเทศนับถือมากที่สุด
รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม
สกุลเงินในไทย
ไทยใช้สกุลเงินบาท (฿) (
THB
)
ธนบัตรในไทยมีตั้งแต่ 20 50 100 500 และ 1000 บาท


นอกจากนี้ยังมีเหรียญ ตั้งแต่
25 สตางค์ 50 สตางค์
1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท
การปกครอง
ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
รหัสโทรศัพท์ : 66
ระบบจราจร : ซ้ายมือ
ภูมิประเทศ
ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลกและเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย(1,910,931 กม.2) และประเทศพม่า (676,578 กม.2) และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศสเปน (505,370 กม.2) มากที่สุด
ประเทศไทยมี 6 ภาค
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออก
ภาคกลาง ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย
ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช
สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก
แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากแม่น้ำปิงและยมที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ทำให้
ภาคกลาง กลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ
และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู
ภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล
อากาศร้อนระหว่างเดือน "กุมภาพันธ์ - เมษายน"เป็น ฤดูร้อน
ระหว่างเดือน "พฤษภาคม - ตุลาคม" ประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และพายุหมุนเขตร้อนเป็น ฤดูฝน
เดือน "พฤศจิกายน-มกราคม" ประเทศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเป็นฤดูหนาว
ส่วนภาคใต้ มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี
จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและร้อน โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
อาหารไทย
อาหารไทยเป็นการผสมผสานรสชาติความหวาน ความเผ็ด ความเปรี้ยว ความขมและความเค็ม
อาหารหลักในประเทศไทย คือ ข้าว โดยมีข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือเป็นพื้น
มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และให้สรรพคุณทางยาและสมุนไพร
ตามสถิติพบว่า ชาวไทยรับประทานข้าวขาวมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
ส่วนอาหารที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นคือ "ต้มยำกุ้ง"
งานดีมากคร๊าาา
ตอบลบ