ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือ ภาคอีสาน
ประกอบไปด้วย 20 จังหวัด
หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม
หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ
มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์
สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บึงกาฬ
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายจาน ลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้มีขอบเป็นภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใต้ ขอบทางตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็น ส่วนทางใต้ ได้แก่ เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช ภูเขาบริเวณนี้เป็นภูเขาหินทราย ที่รู้จักกันดี เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ ภูกระดึง ภูหลวง ในจังหวัดเลยแม่น้ำที่สำคัญของภาคนี้ได้แก่ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตก และทางใต้แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้สองฝั่งแม่น้ำเกิดเป็นที่ราบ น้ำท่วมถึงเป็นตอนๆ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอก*เป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้นเมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีเนื้อที่ถึงประมาณ 2ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยใช้ระบบชลประทานสมัยใหม่ ทำให้สามารถเพาะปลูกได้จนกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ก็ปลูกได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น หน้าแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมด
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของภูมิอากาศแบบมรสุม ดังนั้นฤดูกาลต่างๆ จึงมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับลมมรสุมไปด้วย สามารถแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยออกเป็น 4 แบบ คือ
ฤดูหนาว (ฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนถ้มภาพันธ์ เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวที่สุดของปี
ฤดูร้อน เริ่มในเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุด โดยมีอากาศร้อนที่สุดเดือนเมษายน
ฤดูฝน (ฤดูลมมรสุมตะวันตกแยงใต้) เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเอนกันยายน ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย มีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมทำให้ฝนตกครบคลุมทั่วประเทศ และเริ่มลดลงในเดือนกันยายน
ฤดูลมมรสุมในเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่จะเปลี่ยนแปลงจากฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคอีสานซึ่งเป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมเช่นกัน คือทำให้เกิดฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์มีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 13 – 20 เซลเซียส
อาหาร
สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนำวิธีถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนานๆ
ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลัก เช่นเดียวกับภาคเหนือ
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ
ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง
รสเปรี้ยวได้จากมะกอก มะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยมมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว
1.ภูกระดึง
แนวทิวเขาของอีสานประกอบไปด้วยแนวทิวขาเพชรบูรณ์และแนวทิวเขาดงพญาเย็น ที่เป็นเสมือนสันกั้นพรมแดนระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน จากที่ราบลุ่มภาคกลางจะขึ้นสู่ที่ราบสูงอีสานก็ต้องทะลุแนวภูเขานี้ขึ้นไปทั้งสิ้น ต่ำลงมาประชิดกับภาคตะวันออกชายฝั่งทะเล คือเทือกเขาสันกำแพง ที่ด้านหนึ่งเป็นจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว กับอีกด้านหนึ่งก็คือพื้นที่อำเภอโนนสูง เสิงสาง และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้ยังเชื่อมโยงต่อไปถึงพนมดงรัก ซึ่งเป็นแนวกั้นอีสานกับดินแดนกัมพูชาและ สปป. ลาว และทั้งหมดนี้ก็คือ แนวภูเขาที่กั้นอีสานออกเป็นเอกเทศ แทบจะเป็นที่ราบกลมๆ บนที่สูง จากอีสานจะลงมาภาคกลางหรือไปภาคเหนือ อย่างไรเสียก็ต้องเจอภูเขา จะไปตามทางราบๆ ตลอดไม่ได้
ภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ที่ไม่เคยเสื่อมคลายมนตร์ขลัง เพราะที่นี่มีทุกๆ อย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ จุดเด่นของภูกระดึงคือความสวยงามของภูเขา สายหมอกหน้าผา พรรณไม้ และสัตว์ป่า
2.แม่น้ำโขง
คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง
3.ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทหินทรายสีชมพูบนปากปล่องภูเขาไฟแห่งเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทพนมรุ้งเป็นปราสาทหินสุดยอดอีสานของไทย เหตุผลก็คือ สุดยอดทั้งความสวยงามทางด้านศิลปะสถาปัตยกรรม ตลอดจนมีสภาพที่ตั้งที่โดดเด่นท้าทาย คือตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงตามคติจัตรวาล อีกทั้งตัวโบราณสถานก็ได้รับการบูรณะให้มีสภาพดี ให้นักท่องเที่ยวพอได้เห็นค้ารางแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เป็นการเสริมจินตนาการในการเที่ยวชมได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีสถานที่เที่ยวอีกมากมายที่สำคัญ
และน่าสนใจให้ได้ไปลอง สัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม
วัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน
ซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่
นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร
ดนตรีหมอลำ และ ศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น