วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ADVERTISING

ประเทศไทยกับการโฆษณา

 หลังจากที่เราทราบถึงข้อมูลภายในประเทศไทยด้านต่างๆแล้ว ก็ทำให้เรามีความรู้
ที่ดีสำหรับการลงทุน หรือวางแผน ประกอบธุรกิจในประเทศ นอกจากนี้
เราควรศึกษาข้อจำกัดหรือขอบเขตการโฆษณาหรือการลงทุนในประเทศให้ดีเสียก่อน
การลงทุนหรือทำโฆษณาในประเทศไทย ที่ควรรู้คือ
ไม่ควรทำโฆษณาที่เกี่ยวกับสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ไม่ควรโฆษณาที่ขัดต่อศีลธรรมประเพณีของไทย
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอีกมากมายที่เราควรรู้
ซึ่งแบรนด์ต่างประเทศที่มาทำการโฆษณาในไทย
ส่วนมากจะโดนตรวจสอบโฆษณามาแล้วก่อนมาทำการโฆษณาในประเทศไทย

โฆษณาภายในประเทศหรือของประเทศไทย
ส่วนมากจะผลิตโดยคนไทยจึงรู้ข้อจำกัดการโฆษณาเป็นอย่างดี
แต่แบรนด์ต่างประเทศนั้นมีไม่มากที่โฆษณาโดยโทรทัศน์ในไทย
เนื่องจาก อาจไม่เหมาะสม หรือ สื่อความหมายได้ไม่ชัดเจนในไทย
ส่วนมากจะเป็นการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ก็พบเห็นได้น้อย


ตัวอย่างโฆษณา INTERBRAND ในประเทศไทย

โฆษณา SAMSUNG





โฆษณาสไปรท์


ตัวอย่างโฆษณาในไทยของINTERBRAND ที่ผลิตในไทย

โฆษณาSAMSUNG

                                                                                                     



บทสรุป

        ประเทศไทยเรานั้น เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในด้านการเกษตร และมีวัฒนธรรม
สถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ อันยาวนานและน่าท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการค้าขายลงทุนกับชาวต่างชาติมากในปัจจุบัน และองค์กรต่างๆในไทยก็ได้เตรียมรับมือกับ AEC เรียบร้อยแล้ว ทั้งด้านธุรกิจ และการศึกษา ปัจจุบันพูดได้เลยว่า คนไทยทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับAEC และความรู้ทางด้านภาษาเพิ่มเติม เพื่อการเปิดประเทศไปสู่การค้าเสรี อาเซียน

            หลังจากการเปิด AEC แล้วเราก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าประเทศไทยจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน และด้วยความที่เราเป็นคนไทยเราก็ควรเตรียมพร้อมกับอาเซียน และทำความเข้าใจ นอกจากนี้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้ไปไกลอีกด้วย คนไทยขึ้นชื่อว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม ก็ควรเปิดบ้านต้อนร้บเพื่อนบ้านอย่างดีที่สุด นอกจากนี้แผนที่กำหนดไว้ จะประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่มากหรือไม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การจ้างงาน การลงทุนระหว่างประเทศ หรือทุกๆอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด แบรนด์ไหนจะสามารถขึ้นตำแหน่งสุดยอด100แบรนด์ระดับโลก เราก็ควรจะติดตามกันหลังจากนี้






วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND AEC






ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 10 ประเทศหลัก

จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “One Vision, One Identity, One Community” 
หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม





ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

1.ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า เคลื่อนย้ายเสรี
2.คาดว่า การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 – 20%  ต่อปี
3.เปิดโอกาสการค้าบริการ  ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง  เช่น  ท่องเที่ยว  โรงแรมและร้านอาหาร  สุขภาพ  ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
4.สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น  อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง  อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
5.เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียน อื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage)  และลดต้นทุนการผลิต
6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก  สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ  ผลการศึกษา   แสดงว่า AEC  จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3  หรือคิดเป็นมูลค่า 69  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          แนวทางที่ประเทศ ไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ  พร้อมในการแข่งขัน  โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว  ได้แก่

1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม  2550) 
 2. มาตรการป้องกันผลกระทบ  ก่อน หน้านี้  กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น  พรบมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard  Measure)  ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC  Blueprint  ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ตาม คำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

การส่งออกและนำเข้าของประเทศไทย

             ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกสูงมากคิดเป็น 80% ของ GDP (รายได้ประชาชาติ) เพราะว่าประเทศไทยของเรามีจุดเด่นในด้านฝีมือแรงงาน และโครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดี ทำให้ช่วงหลายสิบปีมานี้ต่างชาติมักใช้ประเทศไทยของเราเป็นฐานการส่งออกและกระจายสินค้าภายในภูมิภาคเป็นอย่างมาก ประกอบกับความได้เปรียบเพื่อนบ้านในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เราอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของอาเซียนยิ่งทำให้ประเทศไทยได้รับความนิยมใช้เป็น ศูนย์การในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าของนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก แม้ในปัจจุบันค่าแรงของเราจะสูงขึ้นมาก แต่ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ จึงทำให้ประเทศไทยของเรายังได้เปรียบหลายๆ ประเทศอยู่มาก

สินค้าส่งออกที่สำคัญ
   1.เครื่องคอมพิวเตอร์
   2.อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ 
   3.อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า
   4.ยางพารา 
   5.เม็ดพลาสติก 
   6.อัญมณีและเครื่องประดับ 
   7.น้ำมันสำเร็จรูป 
   8.เหล็ก 
   9.เหล็กกล้า 
   10.ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 
   11.ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์
   12.ข้าว


- สินค้านำเข้าที่สำคัญ 

   1.น้ำมันดิบ 
   2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 
   3.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ 
   4.สินแร่โลหะอื่นๆ 



วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคใต้

ภาคใต้ 

ประกอบไปด้วย 14 จังหวัด
ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ 
ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า
 แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง 
แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน
คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน 
จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก
ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น
 ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

ลักษณะภูมิอากาศ

ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน 
และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม 
มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก
จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุด
เคยขึ้นสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส
และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซีย

อาหารภาคใต้



อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ 
สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้ เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย
จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้
ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก 
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ 
เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ 
และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ 
และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ 
แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี 
อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

ศิลปะวัฒนธรรมภาคใต้

ภาคใต้มีการแสดงขึ้นชื่อ 2 ชุดได้แก่
มโนราห์ และ หนังตะลุง


มโนราห์
มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย



หนังตะลุง
หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ  ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของภาคใต้

เกาะพีพี
กระบี่ :  เขาขนาบน้ำ ทะเลแหวก หาดนพรัตน์ธารา อ่าวนาง
เกาะลันตา เกาะพีพี อ่าวมาหยา สุสานหอย40ล้านปี 

แหลมตะลุมพุก
นครศรีธรรมราช : แหลมตะลุมพุก อ่าวขนอม


หมู่เกาะสิมิลัน
พังงา : หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ 

แหลมพรหมเทพ
ภูเก็ต : แหลมพรหมเทพ หาดป่าตอง จุดชมวิวสามอ่าว 



เกาะสมุย
สุราษฎร์ธานี : เกาะสมุย เกาะพะงัน

นอกเหนือจากนี้ภาคใต้ยังมีที่เที่ยวอีกมากให้ทุกคนได้ไปสัมผัสกัน






วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคกลาง

ภาคกลาง


ประกอบด้วย 22 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร (เขตปกครองพิเศษ) กำแพงเพรช
ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี
ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพรชบูรณ์
ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุโขทัย 
สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย
และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้านๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่นๆ
ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดดๆ
ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก
 จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ 
เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น 
รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลายๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน 
ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น ภาคกลางแบ่งได้ 3 เขต คือ

1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains)

2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา
 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา 

3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) 
คือมีฝนตกปานกลางและสลับกับฤดูแล้ง 
บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล
มากกว่าภาคกลางตอนบน 
ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคกลาง 
1.ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำความชุ่มชื้นมาสู่ภาคกลาง
2. มีการวางตัวของแนวภูเขาตะนาวศรี และภูเขาถนนธงชัยในลักษณะเหนือ-ใต้ 
ทำให้ส่วนที่เป็นหลังเขามีฝนตกน้อย 
3. ความใกล้ไกลทะเลทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว 
-ภาคกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน 
-ปริมาณน้ำฝนของภาคเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอับฝน 
-ฝนตกมากสุดในเดือนกันยายน จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีปริมาณฝนน้อยที่สุดคือ นครสวรรค์

อาหารภาคกลาง



โดยทั่วไปคนภาคกลางจะรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานเล็กน้อย
มีวิธีการปรุงอาหารซับซ้อนด้วยการนำมาเสริมหรือตกแต่งให้สวยงาม 
เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ ตกแต่งด้วยผักแกะสลัก เป็นต้น
ลักษณะอาหารที่รับประทานมักผสมผสานระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า เป็นต้น
ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก มีกับข้าว3-5อย่าง
อาหารประจำของคนไทยภาคกลาง คือ ผัก น้ำพริกและปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอดหรือหมูย่าง อาหารส่วนใหญ่จะคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภาคกลาง

กรุงเทพ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  

ชัยนาท : สวนนกชัยนาท
นครปฐม : พระปฐมเจดีย์


นนทบุรี : เกาะเกร็ด

ปทุมธานี :องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระนครศรีอยุธยา : อุทยานประวัติศาสตร์ 

ลพบุรี : พระนารายณ์ราชนิเวศน์

สมุทรสงคราม : ตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา

นอกจากนี้ภาคกลางยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย

การแต่งกาย

สมัยก่อน
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม 













วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือ ภาคอีสาน

ประกอบไปด้วย 20 จังหวัด
หนองคาย เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม
หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ 
มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์
สุรินทร์ ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี บึงกาฬ

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายจาน ลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้มีขอบเป็นภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใต้ ขอบทางตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็น ส่วนทางใต้ ได้แก่ เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช ภูเขาบริเวณนี้เป็นภูเขาหินทราย ที่รู้จักกันดี เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ ภูกระดึง ภูหลวง ในจังหวัดเลยแม่น้ำที่สำคัญของภาคนี้ได้แก่ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตก และทางใต้แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้สองฝั่งแม่น้ำเกิดเป็นที่ราบ น้ำท่วมถึงเป็นตอนๆ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอก*เป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้นเมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีเนื้อที่ถึงประมาณ 2ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้พยายามปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยใช้ระบบชลประทานสมัยใหม่ ทำให้สามารถเพาะปลูกได้จนกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ก็ปลูกได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น หน้าแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมบริเวณทั้งหมด

ลักษณะภูมิอากาศ 

สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของภูมิอากาศแบบมรสุม  ดังนั้นฤดูกาลต่างๆ จึงมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับลมมรสุมไปด้วย  สามารถแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยออกเป็น 4 แบบ คือ

ฤดูหนาว (ฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  ถึงเดือนถ้มภาพันธ์  เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวที่สุดของปี

ฤดูร้อน  เริ่มในเดือนมีนาคม  ถึงเดือนเมษายน  เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  เป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุด โดยมีอากาศร้อนที่สุดเดือนเมษายน

ฤดูฝน (ฤดูลมมรสุมตะวันตกแยงใต้)  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเอนกันยายน  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย  มีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมทำให้ฝนตกครบคลุมทั่วประเทศ  และเริ่มลดลงในเดือนกันยายน

 ฤดูลมมรสุมในเดือนตุลาคม  เป็นช่วงที่จะเปลี่ยนแปลงจากฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคอีสานซึ่งเป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ก็ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมเช่นกัน  คือทำให้เกิดฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์มีอุณหภูมิเฉลี่ยราว 13 – 20 เซลเซียส 

อาหาร




สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนำวิธีถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนานๆ
ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลัก เช่นเดียวกับภาคเหนือ 
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ
ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง 
รสเปรี้ยวได้จากมะกอก มะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยมมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน


สถานที่ท่องเที่ยว





1.ภูกระดึง
แนวทิวเขาของอีสานประกอบไปด้วยแนวทิวขาเพชรบูรณ์และแนวทิวเขาดงพญาเย็น ที่เป็นเสมือนสันกั้นพรมแดนระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน จากที่ราบลุ่มภาคกลางจะขึ้นสู่ที่ราบสูงอีสานก็ต้องทะลุแนวภูเขานี้ขึ้นไปทั้งสิ้น ต่ำลงมาประชิดกับภาคตะวันออกชายฝั่งทะเล คือเทือกเขาสันกำแพง ที่ด้านหนึ่งเป็นจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว กับอีกด้านหนึ่งก็คือพื้นที่อำเภอโนนสูง เสิงสาง และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้ยังเชื่อมโยงต่อไปถึงพนมดงรัก ซึ่งเป็นแนวกั้นอีสานกับดินแดนกัมพูชาและ สปป. ลาว และทั้งหมดนี้ก็คือ แนวภูเขาที่กั้นอีสานออกเป็นเอกเทศ แทบจะเป็นที่ราบกลมๆ บนที่สูง จากอีสานจะลงมาภาคกลางหรือไปภาคเหนือ อย่างไรเสียก็ต้องเจอภูเขา จะไปตามทางราบๆ ตลอดไม่ได้
ภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ที่ไม่เคยเสื่อมคลายมนตร์ขลัง เพราะที่นี่มีทุกๆ อย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ จุดเด่นของภูกระดึงคือความสวยงามของภูเขา สายหมอกหน้าผา พรรณไม้ และสัตว์ป่า 




2.แม่น้ำโขง  
คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง



3.ปราสาทพนมรุ้ง 
ปราสาทหินทรายสีชมพูบนปากปล่องภูเขาไฟแห่งเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทพนมรุ้งเป็นปราสาทหินสุดยอดอีสานของไทย เหตุผลก็คือ สุดยอดทั้งความสวยงามทางด้านศิลปะสถาปัตยกรรม ตลอดจนมีสภาพที่ตั้งที่โดดเด่นท้าทาย คือตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงตามคติจัตรวาล อีกทั้งตัวโบราณสถานก็ได้รับการบูรณะให้มีสภาพดี ให้นักท่องเที่ยวพอได้เห็นค้ารางแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เป็นการเสริมจินตนาการในการเที่ยวชมได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีสถานที่เที่ยวอีกมากมายที่สำคัญ
และน่าสนใจให้ได้ไปลอง สัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม


วัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน
ซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ 
นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
 ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร 
ดนตรีหมอลำ และ ศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

เซิ้งไข่มดแดง

การแต่งกายภาคอีสาน

ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ ที่เราเรียกว่า "ม่อห่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้าผู้หญิง การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ




วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคตะวันตก

ภาคตะวันตก



ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่
ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพรชบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะภูมิประเทศ

                พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกประกอบด้วย เทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขาแคบๆคล้ายคลึงกับภาคเหนือ แต่ที่รายหุบเขาภาคตะวันตกไม่กว้างเหมือนภาคเหนือ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 เขต ดังนี้
                1. เขตเทือกเขา เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตกของภาคจากจังหวัดตากจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัย อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย เทือกเขาตะนาวศรีมีที่ราบลุ่มสลับกับเทือกเขา ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควใหญ่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย 
และที่ราบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี
                2. เขตที่ราบ แบ่งเป็น 2 บริเวณ ได้แก่
- ที่ราบหุบเขา ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย และที่ราบลุ่มแม่น้ำแควใหญ่จังหวัดกาญจนบุรี
 - ที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ เป็นที่ราบแคบๆตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เกิดจากการ
กระทำของคลื่น เป็นชายฝั่งทะเลแบบยกตัว

ลักษณะภูมิอากาศ


ภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (AW) ฤดูร้อนจะฝนตก ฤดูหนาวจะแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเทือกเขาตะนาวศรีและเทือกเขาถนนธงชัย ขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากทะเลอันดามัน ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเงาฝน

สถานที่ท่องเที่ยวของภาคตะวันตก

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : หัวหิน เขาตะเกียบ เพลินวาน โขมพัสตร์ ตลาดCICADA 
จังหวัดกาญจนบุรี : เมืองบาดาล วัดสมเด็จ ด่านเจดีย์สามองค์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เขื่อนศรีนครินทร์
จังหวัดราชบุรี : สวนผึ้ง อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
จังหวัดตาก : น้ำตกทีลอซู 
จังหวัดเพรชบุรี : หาดชะอำ ซานโตรินี่(SANTORINI)

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

น้ำตกทีลอซู

ซานโตรินี่






วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก
ประกอบไปด้วย 7 จังหวัด
ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล 
เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา 
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี 
เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน
ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย 
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกคล้ายคลึงกับภาคใต้ คือ

ทางตอนบนของภาค จากปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จะมีลักษณะอากาศแบบสะวันนา 
ทางตอนล่างคือจันทบุรีและตราด จะมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบมรสุม (Am) 
คือ มีฝนตกชุกอากาศร้อนชื้น จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ ตราด 



ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคตะวันออก 
          1. ลมพายุ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ทำให้เกิดฝนตกหนัก
          2. ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกในภาคนี้ ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลต่อภาคตะวันออกมากนัก เนื่องจากมีทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรักเป็นแนวกั้นไว้ อากาศจึงไม่ค่อยหนาวเย็น
          3. การวางตัวของแนวเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัดจะกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกชุกในเขตจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
          4. ระยะใกล้ไกลทะเล ทางตอนบนของภาคอยู่ห่างจากทะเลมีผลทำให้อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ส่วนทางตอนล่างของภาคจะได้รับลมทะเลทำให้อากาศเย็นสบาย

อาหาร


ส่วนภาคตะวันออกมีดินแดนติดทะเล คนแถบนี้นิยมบริโภคอาหารทะเล และกินผักพื้นบ้าน มีเครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่นและมีผลไม้หลากหลาย การปรุงอาหารคาวบางอย่างจึงนิยมใส่ผลไม้ลงไปด้วย อีกทั้งผสมผสานการปรุงจากชาวจีน อาหารของภาคนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร




สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของภาคตะวันออก

เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวไทยสถานที่เที่ยวส่วนมากจะเป็นทะเลและเกาะ

จังหวัดชลบุรี : ติดกับอ่าวไทยทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอีกด้วย
สถานที่เที่ยว พัทยา เกาะล้าน สวนเสือศรีราชา เมืองจำลอง Art in Paradise  หาดบางแสน 
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เขาสามมุข เกาะศรีชัง ฯลฯ


จังหวัดระยอง : หาดแม่รำพึงเกาะเสม็ด สวนสน ศาลหลักเมือง 
อนุเสาวรีย์สุนทรภู่ แหลมแม่พิมพ์ เกาะมันใน เกาะมันนอก

จังหวัดจันทบุรี : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน หาดเจ้าหลาว แหล่งเรือโบราณ
จังหวัดตราด : เกาะช้าง อ่าวคลองสน ฯ
จังหวัดปราจีนบุรี : ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดแก้วพิจิตร
จังหวัดฉะเชิงเทรา : วัดหลวงพ่อโสธร ลำน้ำบางปะกง เขาหินซ้อน ฯ

วัฒนธรรมภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกนอกจะมีกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วน ชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส

ประชากร แรงงาน

อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ 
เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด
การประมงทำกันตามชายฝั่งโดยทั่วไป และมีการเลี้ยงกุ้งกันในบางจังหวัด ส่วนการทำนา มีในจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี นอกจากอาชีพดังกล่าว ในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันแม้ว่าจำนวนพลอยดิบจะลดลงไปมาก แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเจียระไนพลอย ที่สำคัญ