วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก
ประกอบไปด้วย 7 จังหวัด
ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล 
เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา 
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี 
เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน
ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย 
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกคล้ายคลึงกับภาคใต้ คือ

ทางตอนบนของภาค จากปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จะมีลักษณะอากาศแบบสะวันนา 
ทางตอนล่างคือจันทบุรีและตราด จะมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบมรสุม (Am) 
คือ มีฝนตกชุกอากาศร้อนชื้น จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ ตราด 



ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคตะวันออก 
          1. ลมพายุ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ทำให้เกิดฝนตกหนัก
          2. ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกในภาคนี้ ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลต่อภาคตะวันออกมากนัก เนื่องจากมีทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรักเป็นแนวกั้นไว้ อากาศจึงไม่ค่อยหนาวเย็น
          3. การวางตัวของแนวเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัดจะกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกชุกในเขตจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
          4. ระยะใกล้ไกลทะเล ทางตอนบนของภาคอยู่ห่างจากทะเลมีผลทำให้อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ส่วนทางตอนล่างของภาคจะได้รับลมทะเลทำให้อากาศเย็นสบาย

อาหาร


ส่วนภาคตะวันออกมีดินแดนติดทะเล คนแถบนี้นิยมบริโภคอาหารทะเล และกินผักพื้นบ้าน มีเครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่นและมีผลไม้หลากหลาย การปรุงอาหารคาวบางอย่างจึงนิยมใส่ผลไม้ลงไปด้วย อีกทั้งผสมผสานการปรุงจากชาวจีน อาหารของภาคนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร




สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของภาคตะวันออก

เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวไทยสถานที่เที่ยวส่วนมากจะเป็นทะเลและเกาะ

จังหวัดชลบุรี : ติดกับอ่าวไทยทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอีกด้วย
สถานที่เที่ยว พัทยา เกาะล้าน สวนเสือศรีราชา เมืองจำลอง Art in Paradise  หาดบางแสน 
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เขาสามมุข เกาะศรีชัง ฯลฯ


จังหวัดระยอง : หาดแม่รำพึงเกาะเสม็ด สวนสน ศาลหลักเมือง 
อนุเสาวรีย์สุนทรภู่ แหลมแม่พิมพ์ เกาะมันใน เกาะมันนอก

จังหวัดจันทบุรี : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน หาดเจ้าหลาว แหล่งเรือโบราณ
จังหวัดตราด : เกาะช้าง อ่าวคลองสน ฯ
จังหวัดปราจีนบุรี : ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดแก้วพิจิตร
จังหวัดฉะเชิงเทรา : วัดหลวงพ่อโสธร ลำน้ำบางปะกง เขาหินซ้อน ฯ

วัฒนธรรมภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกนอกจะมีกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง ส่วน ชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส

ประชากร แรงงาน

อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ 
เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด
การประมงทำกันตามชายฝั่งโดยทั่วไป และมีการเลี้ยงกุ้งกันในบางจังหวัด ส่วนการทำนา มีในจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี นอกจากอาชีพดังกล่าว ในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันแม้ว่าจำนวนพลอยดิบจะลดลงไปมาก แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเจียระไนพลอย ที่สำคัญ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น