วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคกลาง

ภาคกลาง


ประกอบด้วย 22 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร (เขตปกครองพิเศษ) กำแพงเพรช
ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี
ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพรชบูรณ์
ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุโขทัย 
สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง อุทัยธานี

ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย
และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้านๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่นๆ
ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดดๆ
ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก
 จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ 
เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น 
รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลายๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน 
ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น ภาคกลางแบ่งได้ 3 เขต คือ

1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains)

2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา
 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา 

3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ลักษณะภูมิอากาศ

มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) 
คือมีฝนตกปานกลางและสลับกับฤดูแล้ง 
บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล
มากกว่าภาคกลางตอนบน 
ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคกลาง 
1.ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำความชุ่มชื้นมาสู่ภาคกลาง
2. มีการวางตัวของแนวภูเขาตะนาวศรี และภูเขาถนนธงชัยในลักษณะเหนือ-ใต้ 
ทำให้ส่วนที่เป็นหลังเขามีฝนตกน้อย 
3. ความใกล้ไกลทะเลทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว 
-ภาคกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน 
-ปริมาณน้ำฝนของภาคเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอับฝน 
-ฝนตกมากสุดในเดือนกันยายน จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีปริมาณฝนน้อยที่สุดคือ นครสวรรค์

อาหารภาคกลาง



โดยทั่วไปคนภาคกลางจะรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานเล็กน้อย
มีวิธีการปรุงอาหารซับซ้อนด้วยการนำมาเสริมหรือตกแต่งให้สวยงาม 
เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ ตกแต่งด้วยผักแกะสลัก เป็นต้น
ลักษณะอาหารที่รับประทานมักผสมผสานระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า เป็นต้น
ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก มีกับข้าว3-5อย่าง
อาหารประจำของคนไทยภาคกลาง คือ ผัก น้ำพริกและปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอดหรือหมูย่าง อาหารส่วนใหญ่จะคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภาคกลาง

กรุงเทพ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  

ชัยนาท : สวนนกชัยนาท
นครปฐม : พระปฐมเจดีย์


นนทบุรี : เกาะเกร็ด

ปทุมธานี :องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระนครศรีอยุธยา : อุทยานประวัติศาสตร์ 

ลพบุรี : พระนารายณ์ราชนิเวศน์

สมุทรสงคราม : ตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา

นอกจากนี้ภาคกลางยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย

การแต่งกาย

สมัยก่อน
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม 













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น