วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

H&M about brand


  H&M เป็นมือวางอันดับต้นของแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น ราคาถูกคุณภาพดี
นอกจากนี้การเปิดสาขาแต่ละประเทศของ H&M 
ส่วนใหญ่จะลงทุนเองและมีการขายแฟรนไชส์บ้าง
 H&M มีสาขาหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้คือ H&M ไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง 
แต่ใช้ Outsource โดยมีซัพพลายเออร์ 700 ราย 
พื่อทำการผลิตใน 16 ประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย 
การผลิตเสื้อผ้าของ H&M นั้น จะมีแฟชั่นดีไซเนอร์ของบริษัทเป็นผู้ออกแบบ
 จากนั้นจะส่งแบบไปให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ เป็นผู้ผลิตและส่งกลับมาจำหน่ายในนาม H&M 


H&M แบ่งสินค้าออกเป็นไลน์ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก และสินค้าตกแต่งบ้าน
 (ไลน์สุดท้ายนี้ขายผ่านออนไลน์ แค็ตตาล็อก และมีช็อปเฉพาะที่สตอกโฮล์ม เฮลซิงกิ โคเปนเฮเกน ลอนดอน และอัมสเตอร์ดัม เท่านั้น) มีคู่แข่งสำคัญ คือ Zara และ Gap



ปัจจุบันมีมากกว่า 2,500 แห่ง ใน 43 ประเทศทั่วโลก 
และมีเป้าหมายเปิดช็อปใหม่เพิ่มปีละ 10-15% 
เยอรมันเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด
 รองลงมาคือสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา 
ส่วนใหญ่จะเน้นการลงทุนเอง 
แต่ก็มีระบบแฟรนไชส์บ้างในบางประเทศ 
มีพนักงานราว 87,000 คน กว่า 

H&M ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน ประกอบกับสไตล์และราคาที่โดนใจคนรุ่นใหม่หัวใจเทรนดี้ 
ทำให้แบรนด์ที่มีอายุกว่า 65 ปี สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างเกรียงไกรและมั่นคง  

 หลัก 5 ประการของแบรนด์ H&M

1. Idea and Design
โดยยึดหลักที่ว่าดีไซเนอร์ของ H&M จะต้องออกแบบร่วมกับผู้ซื้อหรือลูกค้า นั่นคือนำเทรนด์หรือแรงบันดาลใจที่ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์ที่เหมาะเจาะกับเวลาและแฟชั่น
2. Planning the range / buying
ขอบเขตของงานดีไซน์นั้นจะต้องขยายวงกว้างมากขึ้น โดยนำความทันสมัยในหลายๆ รูปแบบมามิกซ์รวมกัน นอกจากนี้ยังหมายถึงขอบเขตของตัวร้าน ที่ต้องมีการกำหนดขนาดร้าน จำนวนสินค้าแต่ละประเภท รวมถึงโลเกชั่นของร้าน เพื่อจะสามารถกระจายสินค้าได้อย่างเต็มที่
3. Productionในด้านการผลิตสินค้า อย่างที่บอกไปแล้วว่า H&M ไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง โดยได้จ้างผู้ผลิตรายอื่นมากกว่า 700 เจ้าในการผลิตเสื้อผ้าแทน แต่ H&M ก็ใส่ใจในคุณภาพและราคาของสินค้า รวมถึงยังใช้หลัก CSR ในขั้นตอนการผลิต โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบโรงงานที่ผลิตอยู่เรื่อยๆ
 4. Logistics / Distribution
The right item to the rught country and the right store คืออีกหนึ่งหลักที่ H&M ใช้ในการจำหน่ายสินค้า คือสินค้าที่วางขายในแต่ละร้านในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เพราะ H&M พยายามออกแบบเสื้อผ้าให้เหมาะกับสภาพของประเทศนั้นๆ แหล่งขนส่งและกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดคือ เมืองแฮมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน โดยวิธีขนส่งหลักนั้น H&M จะพยายามใช้การขนส่งทางบกหรือรถไฟ เพราะถือว่าหากใช้การขนส่งทางอากาศ คราบน้ำมันจากเครื่องบินอาจจะตกลงมาในทะเล ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางอากาศและทางน้ำก็เป็นได้
5. Customer
H&M พยายามขยายฐานลูกค้า โดยเปิดการสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ทสำหรับบางประเทศในยุโรป ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และออสเตรเลีย รวมถึงยังเน้นในด้านการจัดบรรยากาศภายในร้าน โดยจะพยายามเปลี่ยน Display Window หุ่นโชว์หรือภาพหน้าร้านให้บ่อยที่สุด เพื่อกระตุ้นบรรยากาศให้ดูมีชีวิตชีวาและดูมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Key To Success H&M
1.Designer&Celebrity Collaboration :หัวใจหลักทำให้แบรนด์โดดเด่นโดนใจผู้บริโภค
2.Supply Chain Management : บริหารจัดการระบบซัพพลายเชนได้ดี
3.Fast Fashion : รวดเร็ว ทันสมัยตลอดเวลา 
4.Best Location : เลือกสถานที่ในย่านเมืองที่ดี
5.Perfect Combination : มีโครงสร้างราคากับคุณภาพที่ดี
6.Cool Marketing Stategy : กลยุทธ์การตลาดที่โดนใจครบเครื่องทั้งออฟไลน์และออนไลน์










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น