วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

THAILAND ภาคเหนือ

ภาคเหนือ



ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่
แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิถ์

มีพื้นที่ประมาณ 93,690,850 ตร.กม. หรือประมาณ 18.26 ของเนื้อที่ประเทศไทย 
ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศพม่าและลาว 
ทิศใต้ ติดต่อกับ ภาคกลาง 
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศลาว 
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า

มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวเหนือใต้สลับกับภูเขาขนาดใหญ่ 
เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของประชากร มาตั้งแต่สมัยโบราณ 

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้
ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาถนธงชัย เป็นทิวเขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ 
มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ คือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ 
ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของประเทศ คือ ยอดเขาผ้าห่มปก
และ ยอดดอยหลวงเขียงดาว เป็นอันดับสาม  นอกจากทิวเขายังประกอบไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่มากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง
และยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก้ กระเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ
ส่วนพื่นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด

ลักษณะภูมิอากาศ 

ภาคเหนือมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง
ภาคเหนือมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน
   ฤดูฝน : ซึ่งเป็นฤดูที่เริ่มลงมือเพาะปลูกพืชเมืองร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและไปสิ้นสุดฤดูในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม ฝนที่ตกเป็นฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวเบงกอล กับฝนจากพายุดีเปรสชันที่พัดจากทะเลจีนใต้
   ฤดูหนาว : เป็นฤดูของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมและสิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวในภาคเหนือมีลักษณะเห็นเด่นชัด กว่าภาคกลาง และภาคใต้ เพราะอยู่ใกล้แนวเคลื่อนที่ของอากาศหนาวเย็นที่เคลื่อนที่จากเขตความกดอากาศสูงในไซบีเรียและผ่านประเทศจีน
   ฤดูร้อน : เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุลภาพันธ์และไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมตะวันออกเฉียง ใต้จากทะเลจีนมีกำลังแรงขึ้น เป็นผลให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นในภาคเหนือเป็นครั้งคราว ในเดือนมีนาคมและเมษายนอุณหภูมิในภาคเหนือขึ้นสูงมาก

อาหารภาคเหนือ




อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกลงหลายชนิด เช่น แกงโฮ๊ะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่นๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน 
ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้านชื่อต่างๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของภาคเหนือ






1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ชื่อนี้มักจะเป็นติดอันดับต้นๆ ของการท่องเที่ยว เดิมชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า ดอยอ่างกานั้น เพราะมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือน อ่างน้ำ มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา หรือ ดอยอ่างกา ดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,599 เมตร) จึงทำให้มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ มี น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ ถ้ำบริจินดา โครงการหลวงอินทนนท์ และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายจุด

2. ดอยอ่างขาง 
เป็นที่ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ภายในสถานีมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ แปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว สวนบอนไซ มีการจำหน่ายผลิตผลพืชผักเมืองหนาวที่ปลูก ในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล ในสถานีฯ มีที่พัก และมีสถานที่กางเต็นท์บริการแก่นักท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ที่สวยงามมากๆ 



3.ภูชี้ฟ้า-ผาตั้ง จ.เชียงราย 

ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า ยิ่งตอนที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นมาตรงระหว่างปลายยอดเขา จะดูเหมือน เสือคาบแก้วมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร ส่วนของหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว ดอยผาตั้ง อยู่บนเทือกดอยผาหม่น เป็นจุดชมวิวสองฝั่งโขง ไทย-ลาว และทะเลหมอก บนดอยมีหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะ ชาวจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็น ส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิ้ล


4.ปาย

ในฤดูหนาวที่เยือนมาอีกรอบหนึ่งของเมืองไทย หลายๆคนจัดแจงวางแผนบุกป่าผ่าเขาเพื่อค้นหาความเยือกเย็นที่ปีหนึ่งจะมีสักครั้งที่แน่ๆ เกือบทั้งหมดนั้นเดินทางขึ้นเหนือ จะไปที่ไหนก็ตามแต่ ที่นี่หลายคนบอกว่าไม่ควรพลาด อ.ปาย ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปาย เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขา สูงตระหง่านเป็นรอยต่อชายแดนไทย-พม่า ฤดูหนาวอากาศเย็นจัด เมืองเล็กๆแห่งนี้มักปกคลุมด้วยสายหมอก ละอองน้ำจางๆยามเช้า บรรยากาศอันเงียบสงบ ทุ่งนาสีเขียว ท้องฟ้าสีคราม กับแสงแดดอุ่นๆ ที่ทอดผ่านม่านหมอกหนา แลเห็นต้นสนไม้ยืนต้นเมืองหนาวสูงใหญ่เป็นทิวแถวตามเชิงเขา วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์นี้ “ปาย”ได้ดึงดูดนักเดินทางให้มาสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งนี้

นอกจากนี้ภาคเหนือยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมายเช่น
จังหวัดเชียงราย : วัดร่องขุน ทะเลหมอกดอยบ่อ พระธาตุดอยตุง พระตำหนักดอยตุง
ดอยแม่สลอง ดอยผาตั้ง พระตำหนักดอยตุง
จังหวัดเชียงใหม่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระธาตุดอยสุเทพ 
สัตว์เชียงใหม่ สวนสนบ่อแก้ว  อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
จังหวัดน่าน  : วัดภูมินทร์ ผาชู้ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน
จังหวัดแพร่ : วนอุทธยานแพะเมืองผี

การแต่งกายภาคเหนือ



ชาวเหนือหรือชาวล้านนา การแต่งกายา แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่โดยเฉพาะ
จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย นับตั้งแต่สมัยของพระญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้
ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
การแต่งกายของเผ่าลีซอ
นอกจากนี้ทางภาคเหนือยังมีชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ การแต่งกายของแต่ละชนเผ่าก็จะต่างกันไป


ภาษา
มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” 
จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วนภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย 
อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง 

            ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล  เช่น อู้ (พูด)  เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง) 

วัฒนธรรมภาคเหนือ

     เพลงพื้นบ้านในของภาคเหนือ เป็นเพลงสนุกสนาน เช่น เพลง ค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ เพลงซอ เป็นการ ขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อย หรือการขับลำนำในโอกาสต่างๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น
     เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่ จำกัดฤดูหรือ เทศกาลใดๆ ซึ่งจะใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ
  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้นๆ โดยเนื้อหาของคำ ร้องจะเป็นการระบายความในภายในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคน เดียว และจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่างๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่ เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุง จา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น